การรับประทานอาหารรสเค็มและโซเดียมสูงเป็นประจำ เป็นหนึ่งในปัจจัยเสี่ยงของภาวะความดันโลหิตสูง โรคไต และปัญหาสุขภาพอีกหลากหลาย รู้แบบนี้.. มาลองปรับพฤติกรรมเลือกเมนูอาหารเพื่อสุขภาพ และลดโซเดียม แบบง่ายๆ ที่ทำได้ในชีวิตประจำวันกันดีกว่า
1. วิธีลดโซเดียมด้วยการเลือกอาหารที่ผ่านการแปรรูปน้อย
อาหารที่ผ่านการแปรรูป เช่น อาหารฟาสต์ฟู้ด อาหารแช่แข็ง อาหารหมักดอง หรือแม้แต่เนื้อสัตว์แปรรูปอย่าง หมูยอ กุนเชียง ปลาแดดเดียว ไม่ว่าจะมีรสเค็มหรือไม่ ต่างก็มักจะมีโซเดียมเป็นส่วนประกอบ ทั้งจากการใช้เครื่องปรุงและวัตถุเจือปนอาหารในกระบวนการผลิต ยกตัวอย่างเช่น
ดังนั้น หากมีโอกาสจึงควรเลือกอาหารที่ไม่ผ่านการแปรรูป เช่น เลือกเนื้อหมูชิ้นแทนหมูยอ เลือกเนื้อไก่แทนนักเก็ต เลือกอาหารปรุงสดใหม่แทนอาหารแช่แข็ง หรือเลือกผลไม้สดแทนผลไม้ดอง จะทำให้ได้รับโซเดียมน้อยกว่า
2. วิธีลดโซเดียมด้วยการทำอาหารทานเอง
3. วิธีลดโซเดียมจากน้ำซุป น้ำจิ้ม น้ำราด ทานแต่น้อยแค่พออร่อย
น้ำซุป น้ำจิ้ม และน้ำราดอาหารมักจะมีรสเข้มข้นและให้โซเดียมสูง เช่น น้ำจิ้มสุกี้ 1 ช้อนกินข้าว ให้โซเดียม 285 มิลลิกรัม หรือน้ำจิ้มไก่ 1 ช้อนกินข้าว ให้โซเดียมถึง 385 มิลลิกรัม ดังนั้นจึงควรทานแต่น้อยและหลีกเลี่ยงการราดน้ำซุปหรือน้ำจิ้มลงไปบนข้าวตรงๆ แต่ใส่ถ้วยแยกแล้วตักแต่พอทาน จะช่วยลดปริมาณโซเดียมลงได้
4. วิธีลดโซเดียมด้วยการระวังอาหารว่างและขนมที่มีโซเดียมแฝง
แม้เราจะคุ้นเคยว่าโซเดียมอยู่ในอาหารคาว แต่ต้องไม่ลืมว่าของหวานและอาหารว่างก็มีโซเดียมเหมือนกัน จึงต้องคอยระวังไม่ให้รับประทานมากเกินไป ตัวอย่างของอาหารกลุ่มนี้ที่มีโซเดียมแฝง เช่น
5. วิธีลดโซเดียมด้วยการอ่านฉลากโภชนาการก่อนซื้อ
หากเป็นอาหารที่มีฉลากโภชนาการ เช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ขนมขบเคี้ยว บริเวณฉลากจะบอกปริมาณโซเดียมไว้เสมอ เราจึงสามารถอ่านฉลากเพื่อเปรียบเทียบและเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีโซเดียมน้อยกว่าได้ หรือใช้การมองหาเครื่องหมาย “ทางเลือกสุขภาพ” ซึ่งแสดงว่าอาหารนั้นๆ ได้รับการปรับสูตรให้มีปริมาณของน้ำตาล ไขมัน และโซเดียมอยู่ในเกณฑ์ที่ปลอดภัยต่อสุขภาพ
ตัวอย่างสัญลักษณ์ทางเลือกสุขภาพ
ที่มา : http://healthierlogo.com
เมื่อต้องรับประทานอาหารนอกบ้าน หลายๆ คนอาจจะกังวลว่าอาหารนั้นจะมีโซเดียมสูงไหม หรือต้องเลือกเมนูอาหารอย่างไรจึงจะดีต่อสุขภาพ ไม่หวาน มัน และเค็มจนเกินไป เราจึงมีเทคนิคในการเลือกเมนูเพื่อสุขภาพมาฝากกันค่ะ
เมนูกับข้าว/ข้าวราดแกง
• หลีกเลี่ยงเนื้อสัตว์แปรรูป เช่น กุนเชียง หมูยอ ปลาแดดเดียว ไข่เค็ม เพราะเนื้อสัตว์แปรรูปมักมีโซเดียมปริมาณสูง เลือกเมนูที่ใช้เนื้อสัตว์ธรรมดา เช่น เนื้อหมู เนื้อไก่ เนื้อปลา ไข่ไก่ จะให้โซเดียมน้อยกว่า
เมนูอาหารจานเดียว
• หลีกเลี่ยงอาหารจานผัดที่มีรสชาติเข้มข้น เช่น ข้าวผัดโบราณ ผัดซีอิ๊ว ผัดไทย ซึ่งมีรสจัดและเราสามารถมองเห็นสีของเครื่องปรุงเคลือบบนผิวอาหาร เพราะนั่นเป็นสัญญาณว่าอาหารนั้นใส่เครื่องปรุงปริมาณมากและมีโซเดียมสูงตามไปด้วย
• สั่งอาหารแบบแยกน้ำจิ้ม โดยเฉพาะอาหารที่มีการราดหรือผสมน้ำจิ้มลงไปก่อนจัดเสิร์ฟ เช่น สุกี้น้ำ หรือข้าวหมูแดง การแยกน้ำจิ้มใส่ถ้วยแล้วตักทานเฉพาะที่พออร่อย จะช่วยลดโซเดียมได้
เมนูก๋วยเตี๋ยว
• เลือกสั่งเมนูน้ำใส เพราะเมนูก๋วยเตี๋ยวน้ำข้น เย็นตาโฟ หรือต้มยำจะมีการปรุงรสน้ำซุปให้เข้มข้น ทำให้มีโซเดียมสูง การรับประทานเกี๋ยวเตี๋ยวน้ำใสหรือนำก๋วยเตี๋ยวน้ำใสมาปรุงเพิ่มเองทีหลังจะช่วยให้ได้รับโซเดียมน้อยกว่า
วิธีลดโซเดียมนั้นไม่ใช่เรื่องยากอย่างที่คิด แค่อาศัยการเลือกเมนูอาหารเพื่อสุขภาพที่เหมาะสมและดัดแปลงเล็กๆ น้อยๆ ก็จะช่วยให้เราสามารถลดโซเดียมในชีวิตประจำวันได้แล้ว นอกจากนั้นอย่าลืมรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และนอนพักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อเป็นพื้นฐานของการมีสุขภาพที่ดีและห่างไกลจากโรคด้วย
ดูสูตรเมนูอาหารลดโซเดียมเพิ่มเติม
เอกสารอ้างอิง